วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550


มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University - ฮาร์เวิร์ด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549

เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยราชการไทยได้ว่าจ้างให้ศาสตราจารย์ของโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด คือ เจมส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด ซึ่งต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 6 ศาสตราจารย์กฎหมายของฮาร์วาร์ดอีกท่านคือ ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ ทำหน้าที่เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ต่อมาได้รับบรรณาศักดิ์เป็น "พระยากัลยาณไมตรี" เช่นกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในขณะที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และได้มีการตั้งชื่อแยกแห่งหนึ่งในบริเวณฮาร์วาร์ดสแควร์ว่า King Bhumibol Adulyadej Square เพื่อถวายเป็นเกียรติแก่พระองค์ [1]
คนไทยคนแรกที่เข้าเรียนฮาร์วาร์ด คือ พระยาศัลวิธานนิเทศ หรือ นายแอบ รักตประจิต (Aab Raktaprachit) ยังมีเกียรติประวัติเป็นคนที่มีชื่อแรกอยู่ในหนังสือรายชื่อศิษย์เก่าของฮาร์วาร์ดทุกปี เป็นเวลา 80 ปีติดต่อกัน และเรื่องราวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือเรื่องน่ารู้ของฮาร์วาร์ด (Harvard A to Z) [2] และในบทความ Harvard A to Z ; From Aab to Zeph Greek — and everything Crimson in between) [3]
สมเด็จพระบรมราชชนกทรงใช้สถาบันแพทยศาสตร์ของฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ที่พระองค์เคยเข้าศึกษาเป็นต้นแบบในการวางแผนพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนแพทย์ศิริราชให้เป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
ศิษย์เก่าที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาวไทยหรือเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับมากมีหลายท่าน อาทิ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, ดร. คุณหญิง กษมา วรวรรณ, ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล, ชุมพล ณ ลำเลียง, บัณฑูร ล่ำซำ, ดร. ประสาร ไตรรัตนวรกุล, ศ. เดชา บุญค้ำ, ศ. ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน, ธารินทร์ นิมมานเหมินท์, ศ. ดร. บุณรอด บิณฑสัณฑ์, พระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตประจิต), ศ. ดร. คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์, ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย, ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร, ศ. ดร. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, ดร. อัมมาร สยามวาลา

ไม่มีความคิดเห็น: